วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว






ชื่อ-สกุล   นางสาว  สาวิตรี  ตนประเสริฐ  อายุ  27  ปี 
 เกิดวันที่  29  พฤศจิกายน  2529
ที่อยู่ปัจจุบัน  257/1  . 1  ต.สวนผึ้ง  อ.สวนผึ้ง  จ.ราชบุรี  70180
กำลังศึกษาอยู่ที่  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง  คณะครุศาสตร์  เอกประถมศึกษา  คบ.4
อาหารที่ชอบคือ ประเภทยำ  ส้มตำหรืออาหารจานเดียว  สีที่ชอบคือ ทุกสีที่คิดว่าสวย
งานอดิเรกคือ  ดูหนัง  ฟังเพลง  จัดบ้าน  สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบคือ ทะเล
เบอร์โทร  090-7938225

การบูรณาการการสอนและการออกแบบการสอน

                การออกแบบการสอน     
              
              เป็นวิธีการเชิงระบบในการวางแผนการเรียนการสอน  ประกอบด้วยคณะทำงานได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นปัญหา  การสำรวจทางเลือกที่สนับสนุน  การปฏิบัติหรือการจัดการเรียนการสอน  มีการวางแผน  ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้  การประเมินและการบริหารจัดการ

               สรุปได้ว่าการออกแบบการสอน  คือ  ระบบการพัฒนาการเรียนการสอนที่อาศัยวิธีการเชิงระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพการสอน  โดยการวิเคราะห์สถานการณ์  หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบแล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ  ด้วยการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน  และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้  กำหนดเป้าหมายและการพัฒนาระบบการถ่ายถอดความรู้ที่สนองความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน  รวมถึงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนรู้  และการประเมินการเรียนรู้  เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุผลจุดหมาย  โดยอาศัยความรู้จากหลาย ๆ ทฤษฎี  เช่น  ทฤษฎีการเรียนรู้  ทฤษฎีการเรียนการสอน  ทฤษฎีการสื่อสาร




อ้างอิง : หนังสือการบูรณาการสอนและการออกแบบการสอน ของ ดร.กิตติคม คาวีรัตน์


การบูรณาการการสอนและการออกแบบการสอน(ต่อ)

ทฤษฎีการออกแบบการสอน




              ทฤษฎี(Theories)เป็นข้อความที่อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ  ที่ได้จากการสังเกตแล้วลงสรุปและทำนายพฤติกรรมที่สังเกตได้  ทฤษฎีสามารถปรับเปลี่ยนได้  ในบางครั้งทฤษฎีจะเป็นยอมรับกันเป็นเวลานานก็อาจถูกพิสูจน์หักล้างในเวลาต่อมาได้  ดังนั้นทฤษฎีการออกแบบการสอนจึงเป็นทุกสิ่งที่เสนอแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้              

           ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้  หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้  ส่วนหลักการสอนก็คือ  แนวคิดที่เป็นหลักของการปฏิบัติทางการสอนที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆทฤษฎีการเรียนรู้สามารถแบ่งออกเป็น 3  กลุ่ม
              1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดีไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus  response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  “ พฤติกรรม “  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ ๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ

     1.1  ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical  Connectionism)  ของธอร์นไดค์ (Thorndike) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด  เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลใช้รูปแบบตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียวและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อย ๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
      1.2  ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning  Theory) ประกอบด้วยทฤษฎีย่อย 4 ทฤษฎีดังนี้
1.ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ(Pavlov sclassical  Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขสรุปแนวคิดตามทฤษฎีนี้ได้ว่า  การเรียนรูของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2.ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson sclassical  Conditioning)  เน้นการตอบสนองตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน  สรุปแนวคิดตามทฤษฎีนี้ได้ว่าการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
3.ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie sclassical  Conditikioning)  เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฎีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีกo
4.ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์ของสกินเนอร์(skinnes s        operant conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือการให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฎีนี้ได้ว่า การกระทำได                ๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัวการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม  อย่างต่อเนี่อง มีการเสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้

1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull s systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าท่าร้างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อมความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน

อ้างอิง : หนังสือการบูรณาการสอนและการออกแบบการสอน ของ ดร.กิตติคม คาวีรัตน์

การบูรณาการการสอนและการออกแบบการสอน(ต่อ)

2.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม(Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆมี 5 ทฤษฎีคือ
        2.1 ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อยหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาคิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
      2.2 ทฤษฎีสนาม(Field  Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
     2.3ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสุ่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการสร้างแรงขับหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ  ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

     2.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual  Development  Theory)
นักคิดคนสำคัญของทฤษฎีนี้มีอยู่ 2  ท่านได้แก่  เพียเจต์ และ บรุนเนอร์  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของของทฤษฎีนี้เน้นเรื่องการพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการการค้นพบด้วยตนเองหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎี คือ การพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้นให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรให้เด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
     2.5ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)ของออซูเบล

เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย



อ้างอิง : หนังสือการบูรณาการสอนและการออกแบบการสอน ของ ดร.กิตติคม คาวีรัตน์

การบูรณาการการสอนและการออกแบบการสอน(ต่อ)

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม(Humanism) นักคิดกลุ่มมนุษย์นิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนูษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการและมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทฤษฎีและแนวคิดที่สำคัญๆในกลุ่มนี้มี  ทฤษฎี  คือ
      3.1ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผูเรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
       3.2ทฤษฎีการเรีบนรู้ของโรเจอร์ส แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรูให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเรียนรูกระบวนการเป็นสำคัญ  ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น  ปลอดภัย  ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
4.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย(Gagne seclecticism)แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด  9  ขั้นดังนี้
            ขั้นที่  สร้างความสนใจ(Gaining  attention)
            ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing  the  learning)
            ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating  recall  of  prerequisite  learned  capabilities)
            ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting  the  stimulus)
            ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing  learning  guidance)
            ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting  the  performance)
            ขั้นที่  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
            ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing  the  Performance)
            ขั้นที่  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing  retention  and  transfer)



อ้างอิง : หนังสือการบูรณาการสอนและการออกแบบการสอน ของ ดร.กิตติคม คาวีรัตน์

การบูรณาการการสอนและการออกแบบการสอน(ต่อ)


ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย

1.ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information  Processing  Theory)
       เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฎีมีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้านการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)เพื่อนำไปเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

2.ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคล       ในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่(เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process  of  knowledge  construction)  เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว  ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลายผู้เรียนจะต้องเป็นผ็จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆและจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

อ้างอิง : หนังสือการบูรณาการสอนและการออกแบบการสอน ของ ดร.กิตติคม คาวีรัตน์